วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การค้าระหว่างประเทศแตกต่างจากการตลาดระหว่างประเทศอย่างไร

การค้าระหว่างประเทศแตกต่างจากการตลาดระหว่างประเทศอย่างไร

ตอบ          การค้าระหว่างประเทศ (International trade)หมายถึง  การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่าง ๆ กัน  ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน    ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง  แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้  จึงจำเป็นต้องต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง
             การตลาดระหว่างประเทศ(International marketing) หมายถึงการดำเนินธุรกิจเพื่อวางแผน กำหนดราคา การส่งเสริมการขาย สินค้าไปยังผู้บริโภคในอีกประเทศหนึ่ง


การวิเคราะห์ SWOT ของยางพารา

จุดแข็งของการส่งออกยางพารา

       1.ไทยเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ของโลกมานานจนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทำให้การหาตลาดส่งออกทำได้ง่าย
        2.ไทยมีศักยภาพสูงในการผลิต ยางพารา โดยเฉพาะยางแผ่นรมควัน
      3.ไทยมีศักยภาพสูงในการแปรรูปยางพาราซึ่งไทยเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกรายใหญ่ทีสุดของโลกต่อเนื่องมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า      20 ปี
       4.เป็นอุตสาหกรรมที่ไทยมีความสามารถในการแข่งขันสูง เพราะพึ่งพาวัตถุดิบในประเทศเป็นสำคัญ

จุดอ่อนของการส่งออกยางพาร

1.ผลผลิตยางพารากว่าร้อยละ 90 ต้องพึ่งพาตลาดส่งออก จึงอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลก
2.การส่งออกยางพารามีค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูง เนื่องจากส่วนใหญ่ใช้การขนส่งทางรถไฟผ่านด่านปาดังเบซาร์ เพื่อไปถ่ายสินค้าลงเรือขนส่งระหว่างประเทศที่ท่าเรือปีนังของมาเลเซีย
 3. โครงสร้างการปลูกยางพาราของไทยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย ทำให้มีต้นทุนสูงในการรวบรวม
วัตถุดิบทัง7 ค่าขนส่ง และค่านายหน้า/คนกลาง
4.ต้นทุนการผลิตยางแท่งของไทยสูง เนื่องจากไทยใช้ยางแผ่นดิบเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต ขณะที่
ประเทศคู่แข่งใช้นํายางสด หรือยางก้นถ้วย ทำให้กรรมวิธีการผลิตสัน7 และมีต้นทุนต่ำกว่าไทย

แนวโน้มหรือโอกาสของการส่งออกยางพารา

1.แนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ของจีน ส่งผลให้จีนมีความต้องการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้นซึ่งช่วยทดแทนความต้องการใช้ยางพาราของสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และ EU ที่ยังมีความผันผวนตามภาวะ
เศรษฐกิจ
2.โครงสร้างอุตสาหกรรมยางพาราแปรรูปขั้นต้นของไทยเปลี่ยนจากเดิมที่เน้นผลิตเฉพาะยางแผ่นรมควันมาเป็นยางแท่งมากขึ้น นับเป็นการขยายโอกาสเพื่อสอดรับกับความต้องการของตลาดโลกที่หันมาใช้ยางแท่งมากขึ้น
3.การขยายพื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะสม
4.การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (Yield Improvement)

อุปสรรคของการส่งออกยางพารา

1.ราคายางพารามีความผันผวนสูง ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยพื้นฐานด้านอุปสงค์และอุปทาน2.ผู้ผลิตยางรถยนต์พยายามคิดค้นเทคโนโลยีการพัฒนายางสังเคราะห์ให้มีคุณสมบัติทดแทนยางธรรมชาติได้มากขึ้น
รวมถึงการเก็งกำไรในตลาดซื้อขายล่วงหน้า

3.ราคายางธรรมชาติมีความผันผวนสูงกว่าราคายางสังเคราะห์มาก
4.อุปทานยางสังเคราะห์สามารถตอบสนองอุปสงค์ได้รวดเร็วกว่ายางธรรมชาติ


ประเทศอิตาลี(italia)

 

อิตาลี  มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี  เป็นประเทศในทวีปยุโรปบริเวณยุโรปใต้ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 

              มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ภูมิประเทศ

             ประเทศอิตาลีตั้งอยู่บนคาบสมุทรอิตาลี ถูกล้อมรอบด้วยทะเลในทุกๆ ด้านยกเว้นด้านเหนือ อาณาเขตทางทิศเหนือติดต่อกับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์และออสเตรียโดยมีเทือกเขาแอลป์กั้นแบ่ง โดยในเทือกเขามีภูเขาที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป คือภูเขามอนเตบีอังโก (อิตาลี: Monte Bianco) ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศอิตาลี เทือกเขาที่สำคัญอีกแห่งคือ เทือกเขาแอเพนไนน์ (อิตาลี: Appennini) พาดผ่านตอนกลางและตอนใต้ของประเทศ มีแม่น้ำที่ยาวที่สุดในอิตาลีคือแม่น้ำโป (Po) และแม่น้ำไทเบอร์ที่ไหลผ่านกรุงโรม อิตาลีมีดินแดนที่ราบลุ่มริมแม่น้ำราว 25 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยที่ราบลุ่มแม่น้ำโป ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นบริเวณพื้นที่ราบที่กว้างใหญ่ที่สุด อิตาลีมีเกาะมากมาย แต่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือเกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย สามารถเดินทางได้โดยเรือและเครื่องบิน
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของประเทศ คือ ปรอท โพแทช (โพแทสเซียมคาร์บอเนต) หินอ่อน กำมะถัน แก๊สธรรมชาติ น้ำมันดิบ ปลาและถ่านหิน
อิตาลีมีปัญหาด้านสภาพแวดล้อม เช่น มลภาวะเป็นพิษจากอุตสาหกรรมและการสันดาบ ชายฝั่งแม่น้ำเน่าเสียจากอุตสาหกรรม และสารตกค้างจากการเกษตร ฝนกรด การขาดการดูแลบำบัดของเสียจากอุตสาหกรรมอย่างเพียงพอ และปัญหาด้านภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ดินและโคลนถล่ม ภูเขาไฟระเบิด น้ำท่วม รวมถึงปัญหาแผ่นดินทรุดตัวในเวนิส
เศรษฐกิจ
ในช่วงหลังของทศวรรษ 1980 เศรษฐกิจของอิตาลีจัดอยู่ในเกณฑ์ดี แต่เริ่มประสบปัญหาในทศวรรษต่อมา ทำให้รัฐบาลไม่สามารถควบคุมปัญหาการขาดดุลสาธารณะได้ เดิมอิตาลีเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่หลังจากปี ค.ศ. 1945 ได้เริ่มพัฒนาภาคอุตสาหกรรมจนกระทั่งปัจจุบันมีประชากรเพียงร้อยละ 7 อยู่ในภาคการเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคใต้และมีฐานะยากจนกว่าทางภาคเหนือและกลาง พืชหลักที่เพาะปลูก ได้แก่ ต้นบีต ข้าวสาลี ข้าวโพด มันเทศและองุ่น (อิตาลีใช้องุ่นทำไวน์และเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกด้วย)
ประเทศอิตาลีมีพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เหมาะแก่การเกษตรกรรม และมีทรัพยากรธรรมชาติไม่มาก แม้จะมีก๊าซธรรมชาติอยู่บ้าง จึงเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าอาหาร และพลังงาน อิตาลีเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาเกษตรกรรม เป็นอุตสาหกรรมแบบพื้นฐาน และมีขนาดใหญ่เป็นลำดับต้นๆ ของโลก โดยรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรสูงไล่เลี่ยกับอังกฤษและฝรั่งเศส อิตาลีมีจุดแข็งในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
อุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศมี รถยนต์ เครื่องจักรกล การก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ เภสัชภัณฑ์ เครื่องไฟฟ้า เครื่องเรือน อุตสาหกรรมทอผ้า เสื้อผ้า แฟชั่น และการท่องเที่ยว อิตาลีเป็นสมาชิกกลุ่มจี 8 และเข้าร่วมสหภาพการเงินของสหภาพยุโรป (EMU) เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1998 แม้ระบบเศรษฐกิจของอิตาลีเป็นระบบทุนนิยม ที่ภาคเอกชนสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างเสรี แต่รัฐบาลยังคงเข้ามามีบทบาทควบคุมกิจกรรมที่สำคัญ เช่น สาธารณูปโภค อุตสาหกรรมพื้นฐาน เป็นต้น

การค้าและเศรษฐกิจ
ในปี พ.ศ. 2549 ประเทศอิตาลีเป็นคู่ค้าของไทยอันดับที่ 4 ในสหภาพยุโรป และอันดับที่ 21 ในโลก โดยมีมูลค่าการค้ารวม 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 9.2 ของการค้ารวมของไทย เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2548 ร้อยละ 0.24 โดยไทยส่งออก 1.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 1.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนการลงทุน ในปี พ.ศ. 2549 การลงทุนของอิตาลีในไทย มีมูลค่ารวม 481.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 จากปี พ.ศ. 2548 โดยเป็นด้านแร่ธาตุและเซรามิค 1 โครงการ อุตสาหกรรมเบาและเส้นใย 2 โครงการ ผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร 3 โครงการ ด้านเคมีภัณฑ์และกระดาษ 1 โครงการและด้านบริการ 2 โครงการ
สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ รถยนต์และส่วนประกอบ ยางพารา ปลาหมึกสดแช่เย็น เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ อัญมณีและเครื่องประดับ ผ้าผืน เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์ เป็นต้น
สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์โลหะ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ การทดสอบ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด เป็นต้น

การท่องเที่ยว
   
           
                             นักท่องเที่ยวอิตาลีมาท่องเที่ยวที่ประเทศไทยประมาณ 130,000 คนต่อปี โดยมีจำนวนมากน้อยตามสภาวะเศรษฐกิจของอิตาลีและยุโรป ในขณะที่นักท่องเที่ยวไทยไปอิตาลีปีละประมาณ 12,350 คน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี และสายการบินไทยมีเส้นทางการบินจากกรุงเทพสู่มิลาน สัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน จากเดิมมีเพียงการบินจากโรมเข้าสู่กรุงเทพทั้งสิ้น 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์

3 ความคิดเห็น:

  1. แก้ไขแล้วคะ มีเนื้อหาเพิ่มด้วยคะ

    ตอบลบ
  2. 1. Separate each assignment. Don't put everything in one article.
    2. There is no article for SWOT "rubber". So add the article.

    ตอบลบ